ประเภททีม Head-to-Head

การแข่งขันประเภทผลัด เฮด-ทู-เฮด (Head-to-Head Relay Competition)

เพื่อเป็นการแสดงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ก่อนและหลังการแข่งขัน ทั้งสองทีมไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะจะต้องยอมรับความจริงและให้เกียรติอีกฝ่ายด้วยการจับมือหรือแปะมือกัน

  1. ทีมที่ลงแข่งประเภทผลัดในแต่ละทีมต้องประกอบด้วยอย่างน้อยผู้เล่นสี่คนในรุ่นอายุที่ถูกต้อง     

         ก) การแบ่งรุ่นการแข่งขันประเภทผลัดจะตัดสินอายุของผู้เล่นที่อายุมากที่สุดของทีม ณ วันแข่งขัน (หมายเหตุ หากการแข่งขันมีหลายวัน จะวัดจากวันสุดท้ายของการแข่งขัน โดยรุ่นอายุ 6U ถึง 18U ทีมจะต้องลงแข่งขันในรุ่นอายุตามอายุของผู้เล่นที่มากที่สุดในทีม ส่วนรุ่นอายุ 19+ ถึง 60+ จะต้องลงแข่งในรุ่นอายุตามอายุของผู้เล่นที่น้อยที่สุดในทีม) สำหรับผู้เล่นที่มีอายุ 18 ปี หรือน้อยกว่า สามารถแข่งขันกับผู้เล่นที่มีอายุ 19 ปี หรือมากกว่าได้ในรุ่น “Open” ซึ่งเป็นรุ่นอายุที่จะแข่งขันร่วมกันกับรุ่นอายุ 19 ปีขึ้นไป

         ข) ผู้เล่นสามารถลงแข่งขันได้เพียงหนึ่งทีมต่อการจัดการแข่งขันหนึ่งครั้ง

         ค) ทีมที่มีผู้เล่นมากกว่าสี่คนสามารถลงเล่นแทนผู้เล่นคนหนึ่งได้ในระหว่าง “รอบการแข่งขัน”

  1. การแข่งขันแบบเฮด-ทู-เฮดนั้น ผู้เล่นทั้งสี่คนในทีมต้องเล่นพร้อมกับอีกทีมหนึ่ง (ทีมที่มีผู้เล่นมากกว่าสี่คน จะเป็นผู้เล่นสำรองสามารถเปลี่ยนตัวได้ในระหว่างการแข่งขัน) ในการแข่งขันหนึ่งแมช ประกอบด้วยการแข่งขันรอบย่อยซึ่งเรียกว่า “เรช” หลายรอบ การแข่งขันแบบผลัดหนึ่งแมช (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ 3-3-3, 3-6-3 หรือ ไซเคิล) จะเลือกเอาเวลา 2 จาก 3 เรช ที่ดีที่สุด
  2. บนโต๊ะแข่งขัน ผู้เล่นทีมละหนึ่งคนจากสองทีมจะเรียงแก้วบนสแต็คแม็ต ครึ่งโต๊ะในส่วนที่เป็นของทีมตน (ใช้แถบสีเหลืองกว้าง 2.5 ซม. (1 นิ้ว) ติดด้านบนและด้านล่างของโต๊ะเพื่อเป็นการแบ่งเขตของสองทีม) ผู้เล่นแต่ละคน ของทีมต้องทำสแต็คบนพื้นผิวของสแต็คแม็ต
  3. สนามแข่งขันของ WSSA ต้องได้รับการทำเครื่องหมาย หรือขีดเส้นอย่างชัดเจนด้วยเส้นกึ่งกลาง (Certerline) บนโต๊ะ นักกีฬาทุกคนต้องอยู่ในครึ่งสนามของตน ห้ามคนใดแตะหรือข้ามเส้นโดยเด็ดขาด เส้นกึ่งกลางนี้ยาวไม่สิ้นสุดโดยเริ่มจากเส้นเริ่มต้น (Start line) ไปจนถึงท้ายคอร์ด  
  4. การแข่งขันแบบนี้สามารถเป็นแบบ Double Elimination format (ทีมที่แพ้ 2 แมช จะถูกตัดออก) หรือแบบ Single Elimination format (ทีมที่แพ้ 1 แมช จะถูกตัดออก) ก็ได้
  5. ก) ผู้เล่นคนแรกของทีมประจำอยู่ที่โต๊ะโดยวางมือสองข้างบนแผ่นสัมผัสสีเหลืองของสแต็คแม็ต ผู้เล่นคนอื่นของแต่ละทีมต้องยืนเรียงแถวตอนลึกด้านหลังเส้นเริ่มต้น เป็นระยะ 2.13 เมตร (7 ฟุต) จากขอบโต๊ะ อยู่ด้านหลังของผู้เล่นคนแรก มีกรวยสีส้มคั่นระหว่างสองทีม

         ข) มีสัญญาณจากผู้ตัดสินว่า “เตรียมตัว, ระวัง, ไป” เมื่อพูดคำว่า “ไป” ผู้เล่นคนแรกของแต่ละทีมเริ่มทำ สแต็ค เมื่อเรียงเสร็จแล้วผู้เล่นคนแรกนั้นต้องกลับมาจุดเริ่มต้น

         ค) หลังจากที่กลับมาที่เส้นเริ่มต้นแล้วต้องกลับไปต่อท้ายแถว

         ง) เมื่อผู้เล่นคนที่สี่และคนสุดท้ายเรียงสแต็คเรียบร้อยแล้วและหยุดสแต็คแม็ต ถือว่าทีมทำสแต็คเสร็จแล้ว

         จ) ผู้เล่นคนสุดท้ายต้องกลับไปอยู่บริเวณลานแข่งขันด้านหลังทันที

  1. หลังเสร็จสิ้นการแข่งในแต่ละรอบ ทั้งสองทีมต้องสลับข้างกันเพื่อแข่งในรอบต่อไป
  2. ระหว่างการแข่งขันนี้ ผู้ชม และนักกีฬาสแต็คอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าแข่งขัน ต้องอยู่ด้านนอกลานแข่งขันกีฬาสแต็ค
  3. ไม่อนุญาตให้มีการอุ่นเครื่องในการแข่งขันนี้

 

การปรับโทษ

เมื่อผู้เล่นทำผิดกติกา ในการแข่งขันประเภทผลัด เฮด-ทู-เฮด ทีมนั้นต้องถูกปรับโทษ การปรับโทษมีผลต่อการผลตัดสินสุดท้าย ทีมจะถูกปรับโทษต่อเมื่อ

  1. ฟอลส์สตาร์ท

         ก)  เพราะผู้เล่นคนแรก (ตำแหน่งการวางมือบนสแต็คแม็ตไม่ถูกต้อง หรือมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างออกจากบนแผ่นสัมผัสสีเหลืองของสแต็คแม็ต ก่อนกรรมการให้คำสั่ง “ไป”)

         ข)  เพราะผู้เล่นที่ตามมา คือเท้าไม่อยู่บนพื้นหลังเส้นเริ่มต้น

  1. ฟุตฟอลท์   เท้าของผู้เล่นอยู่เลยเส้นแบ่งกลาง
  2. ฟอลส์สตอป

         ก)  ฟอลส์สตอป (เพื่อไม่ให้สับสนกับการ “ฮิคคัพ” กลับไปคำจำกัดความ) เกิดขึ้นเมื่อเครื่องจับเวลาของ สแต็คแม็ตหยุดก่อนผู้เล่นคนที่สี่และคนสุดท้ายเรียงสแต็คเสร็จ ทีมที่ทำฟอลส์สตอปต้องถูกปรับโทษ 1 แต้ม การแข่งยังคงดำเนินไปตามปกติหากผู้เล่นคนที่สี่และคนสุดท้ายของทีมแข่งรอบนั้นวางมือทั้งสองข้างกลับไปไว้บนแผ่นสัมผัสสีเหลืองตามเดิม (หมายเหตุ เมื่อเกิดฟอลท์สตาร์ท ผู้ตัดสินต้องมองด้วยตาเปล่าเพื่อให้ทั้งสองทีมยุติการแข่งขันรอบนั้น)

         ข)  ฟอลส์สตอปอาจเกิดขึ้นได้หากผู้เล่นคนสุดท้ายวางตำแหน่งมือไม่ถูกต้อง (ดู “สแต็คแม็ต”)

  1. ไม่มีการแก้ไขฟัมเบิลให้ถูกต้อง
  2. การเรียงสแต็คไม่ถูกต้อง
  3. การใช้มือสองข้างบนสแต็ค 2 สแต็ค (นักกีฬาสแต็คไม่สามารถทำอัพสแต็คหรือดาวน์สแต็ค แก้ว 2 กลุ่มได้ในเวลาเดียวกัน)
  4. แก้วสแต็คข้ามเขตแบ่งแดนเส้นที่เหลือง ไม่ว่าเมื่อทำสแต็คหรือ เป็นการฟัมเบิลบนโต๊ะหรือหล่นพื้นก็ตามซึ่งรวมถึงแก้วที่ถูกเรียงตั้งเดียวกันด้วย*
  5. แก้วไม่ได้ถูกเรียงบนพื้นผิวของสแต็คแม็ต*
  6. ถ้าแก้วตก ผู้เล่นเท่านั้นจะสามารถเก็บแก้วได้ (เจ้าหน้าที่ ผู้ชม ผู้ฝึกสอน ผู้ร่วมทีม หรือผู้เล่นจากทีมตรงข้าม ไม่สามารถเก็บแก้วนั้นได้) หากผู้อื่นเก็บจะมีการปรับโทษดังนี้*

                  ผู้เก็บแก้ว                                    แต้มปรับโทษ

       ผู้ร่วมทีมหรือผู้ฝึกสอนของผู้เล่นเอง                      2

               ผู้ชม เจ้าหน้าที่                                        1

      ผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนของทีมตรงข้าม                        0 (สำหรับทีมที่ทำแก้วตก) 1 (สำหรับทีมที่ผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนแตะต้องแก้วนั้น)

  1. ถ้าผู้เล่นคนสุดท้ายไม่กลับมาบริเวณลานแข่งขันด้านหลังเมื่อทำสแต็คเสร็จก็จะมีการปรับโทษด้วย
  2. ผู้ฝึกสอนต้องอยู่หลังเส้นเริ่มต้นตลอดเวลาระหว่างรอบการแข่งขันย่อย หากทำผิดครั้งแรก เจ้าหน้าที่จะตักเตือน หากมีการทำผิดอีกจะถูกปรับโทษ
  3. การหยุดครั้งที่สอง

          ทีมที่ทำสแต็คช้าที่สุดตามเวลาที่แสดงบนเครื่องจับเวลาสแต็คแม็ต และจอแสดงการแข่งขันจะถูกปรับโทษ (หมายเหตุ: ในกรณีเกิดฟอลส์สต๊อป ทีมที่ทำฟอลส์สต๊อปวางมือทั้งสองข้างไว้บนแผ่นสัมผัสสีเหลืองของสแต็คแม็ตอีกเป็นครั้งที่สองจะถูกปรับโทษ)

 

การสิ้นสุดการแข่งขันประเภทผลัด : ใครจะเป็นผู้ชนะเมื่อเกิดการปรับโทษขึ้น

ในแต่ละรอบการแข่งขันย่อย ผู้ตัดสินแต่ละคนจะยกนิ้วแสดงจำนวนการถูกปรับโทษของแต่ละทีม ทีมที่มีการถูกปรับโทษน้อยที่สุดชนะ หากถูกปรับโทษเท่ากันจะตัดสินในรอบตัดเชือกและมีการเริ่มการแข่งขันกันใหม่

*หมายเหตุ ถูกปรับโทษหนึ่งแต้มต่อการเกิดเหตุการณ์หนึ่งครั้งไม่ว่าจะเป็นจำนวนแก้วกี่ใบก็ตาม

การทำโทษ/พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

-   หากทีมคุณมาถึงการแข่งขันสายจะถูกปรับแพ้การแข่งขันแมชนั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งทางผู้จัดงานจะมีการประกาศ “เรียกครั้งแรก” และ “เรียกครั้งสุดท้าย”

-   การปรับแพ้ใน “เรซ” จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หากผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นหรือแก้วของผู้เล่นสร้างความรำคาญให้แก่  ผู้เล่นอื่นหรือขัดขวางแก้วของผู้เล่นของทีมตรงข้าม ซึ่งรวมถึงสร้างความรำคาญที่ไม่ตั้งใจด้วย

-   ในการแข่งขันประเภทผลัดไซเคิล เฮด-ทู-เฮด เมื่อผู้เล่นคนใดไม่เรียงสแต็คไซเคิลอย่างถูกต้อง (3-6-3, 6-6,    1-10-1 และจบด้วย 3-6-3) ทีมของผู้เล่นนั้นก็ถูกปรับแพ้ในการแข่งขัน “เรซ” นั้น

-   หากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักกีฬาสแต็ค, ผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีมนั้น ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจในการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้เล่นหรือขัดขวางแก้วของผู้เล่นของทีมตรงข้าม (เช่น การปฏิบัติอย่างไม่สมควรต่ออุปกรณ์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน) หากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกให้ปรับแพ้ใน “เรซ” หากทำผิดเป็นครั้งที่สองให้ปรับแพ้ใน “แมช” นั้น และหากมีครั้งที่สามเกิดขึ้น ไม่ให้ทีมนั้นลงแข่งขันในการแข่งขันที่เหลืออยู่

-   พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ชมก็ไม่เป็นที่ยอมรับเช่นกัน หากผู้ตัดสิน, ผู้ดูแลการแข่งขันประเภทผลัด, ผู้ดูแลประเภทรุ่นการแข่งขัน หรือกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขัน เห็นว่าผู้ชมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะทางร่างกายหรือวาจาต่ออุปกรณ์หรือบุคคลก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่จะขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว แต่หากยังคงกระทำอยู่ผู้นั้นต้องออกไปจากบริเวณการแข่งขัน

-   กรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันมีสิทธิ์เต็มที่ในการตัดสินให้นักกีฬาสแต็คหรือผู้ชมเข้าร่วมการแข่งขันได้หรือไม่ หากนักกีฬาสแต็คได้เคยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือแสดงความไม่เคารพต่อสมาคมฯ ต่อหน้าสาธารณชน (และ/หรือ ผู้สนับสนุนด้วย) เมื่อกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันได้รับแบบฟอร์มลงทะเบียนนักกีฬาสแต็ค เขาจะได้รับจดหมายแจ้งจากกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันว่าเขาไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ 


  • การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องเข้าแข่งขันในรุ่นอายุของตนเอง การจัดรุ่นอายุของผู้เล่นต้องตรงกับอายุจริงของผู้เล่นในวันแข่งขัน (หมายเหตุ : การแข่งขันที่จัดต่อเนื่องห...

  • การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทคู่(Double Cycle) การแข่งขันประเภทคู่ คือ การแข่งขันเป็นที่มีผู้เล่นทีมละสองคนทำงานประสานกันในการเรียงแก้วแบบไซเคิลสแต็ค ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความท...

  • การแข่งขันประเภทผลัด 3-6-3 แบบจับเวลา(Timed 3-6-3 Relay) การแข่งขันประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่ผสมระหว่าง “การแข่งขันประเภททีมผลัด” และ “การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเ...

  • การจัดสนามการแข่งขัน กีฬาสแต็ค ตำแหน่งของผู้ตัดสินและกล้องวิดีโอกีฬาสแต็ค ประเภทและรุ่นอายุการแข่งขันกีฬาสแต็ค
Visitors: 222,627