ประเภททีม Timed 3-6-3 Relay
การแข่งขันประเภทผลัด 3-6-3 แบบจับเวลา (Timed 3-6-3 Relay)
การแข่งขันประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่ผสมระหว่าง “การแข่งขันประเภททีมผลัด” และ “การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเดี่ยว” การแข่งขันในลักษณะนี้เป็นการแข่งกับเวลา (ไม่ได้แข่งกับผู้เล่นทีมอื่น) และการทำผิดกติกาจะถือเป็นการทำสแครชมากกว่าเป็นการปรับโทษ
หมายเหตุ : ถึงแม้ว่าการแข่งขันปกติจะจัดขึ้นในสถานที่แข่งขันที่มีที่มีการวัดเส้นสนามไว้อย่างดี แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะต้องการเพียงแค่เส้นเริ่มต้นที่ระยะ 2.13 เมตร (7 ฟุต) ซึ่งหากการแข่งขันไม่ได้จัดขึ้นในสถานที่ดังกล่าว แม้เส้นกึ่งกลาง (Centerline) อาจปรากฏทั้งบนโต๊ะหรือบนพื้น แต่ก็ไม่มีผลใด ๆ และหากแก้วหรือเท้าของนักกีฬา สแต็คจะทับหรือข้ามไปก็ไม่ผิดกติกาใด ๆ
- ก) ทีมผลัดแต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน ตามรุ่นอายุ การแบ่งรุ่นของผู้เล่นประเภททีมผลัดนั้นต้องตรงกับอายุจริงของผู้เล่นที่มีอายุมากที่สุดในทีม ณ วันแข่งขัน (หมายเหตุ : สำหรับการแข่งขันที่จัดต่อเนื่องหลายวัน ระดับอายุของผู้เล่นในทีมจะวัดจากอายุจริงของผู้เล่นที่มีอายุมากที่สุดในทีม ณ วันสุดท้ายของการแข่งขัน โดยรุ่นอายุ 6U ถึง 18U ทีมจะต้องลงแข่งขันในรุ่นอายุตามอายุของผู้เล่นที่อายุมากที่สุดในทีม ส่วนรุ่นอายุ 19+ ถึง 60+ ทีมจะต้องลงแข่งในรุ่นอายุตามอายุของผู้เล่นที่น้อยที่สุดในทีม) สำหรับผู้เล่นที่มีอายุ 18 ปี หรือน้อยกว่า สามารถแข่งขันกับผู้เล่นที่มีอายุ 19 ปี หรือมากกว่าได้ในรุ่น “Open” ซึ่งเป็นรุ่นอายุที่จะแข่งขันร่วมกันกับรุ่นอายุ 19 ปีขึ้นไป ข) ผู้เล่นแต่ละคนสามารถลงแข่งได้เพียง 1 ทีมในการจัดการแข่งขันแต่ละครั้ง ค) ทีมที่มีผู้เล่นมากกว่า 4 คน สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามต้องการในระหว่างรอบการแข่งขันย่อย
- ทีมประเภทผลัด 1 ทีมสามารถลงแข่งได้เพียง 1 ครั้งในการแข่งขันรอบแรก (Prelims)
- การแข่งขันประเภทนี้ต้องใช้สแต็คแม็ตในการเล่นด้วย
- ผู้เล่นทีมผลัดจะต้องส่งใบลงเวลาให้แก่ผู้ตัดสินที่โต๊ะแข่งขัน ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมและบันทึกเวลาในการแข่งขันของแต่ละทีม
- ในการแข่งขันประเภทผลัด 3-6-3 แบบจับเวลา ผู้เล่นไม่สามารถทำผิดกติกาได้ (เหมือนการแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเดี่ยว) หากผู้เล่นทำผิดกติกาในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะยุติการแข่งขันทันที และจะบันทึกรอบการแข่งขันย่อยครั้งนั้นว่าเป็นการทำสแครช
หมายเหตุ : การทำผิดกติกานี้รวมถึง
S1) การเริ่มหรือหยุดเวลาในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมของสแต็คแม็ต
S2) แก้วทั้งใบออกนอกพื้นที่ของสแต็คแม็ต
S3) การเรียงสแต็คผิดลำดับที่ถูกต้อง
S4) ฟัมเบิล ไม่ได้ถูกแก้ไขให้ถูกต้อง
S5) วาง 2 มือบนสแต็ค 2 กอง
S6) ฟอลส์สต๊อป
S7) ฟุตฟอลท์
สิ่งที่นักกีฬาสแต็คที่รอเล่นลำดับถัด ๆ ไปควรระวัง
a) การเหยียบหรือข้ามเส้นสตาร์ท
b) การเหยียบหรือข้ามเส้นกั้นหลังหรือเส้นแบ่งกึ่งกลางสนาม
c) การที่เท้าไม่แตะพื้นขณะที่นักกีฬาสแต็คที่เล่นเสร็จแล้ววิ่งกลับมาที่เส้นสตาร์ท
6. การแข่งขันประเภทนี้จะไม่มีการซ้อมอุ่นเครื่อง
7. ก) ผู้เล่นคนแรกจะเป็นผู้เริ่มต้นการแข่งขัน ส่วนผู้เล่น 3 คนที่เหลือจะยืนเรียงแถวตอนลึกรออยู่หลังเส้นสตาร์ท ซึ่งห่างจากขอบโต๊ะแข่งขันไป ทางด้านหลัง 2.13 ม. (7 ฟุต) โดยยืนหันหน้าไปทางเดียวกันกับผู้เล่นคนแรกที่กำลังเล่นอยู่ที่โต๊ะแข่งขัน
ข) ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เล่นเริ่มต้นการแข่งขันย่อยรอบแรกจากทั้งหมด 3 รอบ โดยกล่าวว่า “ตั้งนาฬิกาจับเวลา เมื่อพร้อมแล้วเริ่มได้”
ค) ผู้เล่นคนแรกก็จะเริ่มทำสแต็คแบบ 3-6-3 เมื่อทำเสร็จก็จะวิ่งกลับมาที่เส้นสตาร์ท โดยเมื่อเท้าของผู้เล่นคนแรกแตะหรือข้ามเส้นสตาร์ท ผู้เล่นคนถัดไปที่ต่อแถวรอจึงจะสามารถวิ่งออกจากเส้นได้
ง) หลังจากที่ผู้เล่นคนถัดไปออกจากเส้นไปแล้ว ผู้เล่นคนแรกต้องเดินกลับไปยืนต่อท้ายแถว เมื่อผู้เล่นลำดับที่สองทำสแต็ค 3-6-3 เสร็จแล้ววิ่งกลับมา เมื่อเท้าแตะ/ข้ามเส้นสตาร์ท ผู้เล่นลำดับที่ 3 จึงวิ่งออกไปได้ ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงผู้เล่นคนสุดท้าย
จ) ผู้เล่นคนสุดท้ายของทีมจะเป็นผู้หยุดนาฬิกาจับเวลาบนสแต็คแม็ต แล้วกลับมายังลานแข่งขันด้านหลัง
8. เวลาในการแข่งขันประเภททีมผลัดจะเริ่มต้นตั้งแต่การแข่งขันชุดรอบแรกซึ่งประกอบไปด้วยการแข่งขันย่อยๆ แบบจับเวลา 3 รอบ (การแข่งขันประเภทนี้ไม่อนุญาตให้มีการซ้อมอุ่นเครื่อง) รอบที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดจะถือเป็นสถิติสูงสุดของทีม ซึ่งเวลาในแต่ละรอบดังกล่าวจะบันทึกเป็น 1/1000 วินาที (หมายเหตุ : ระหว่างการแข่งขันในรอบคัดเลือก จะใช้ผู้ตัดสินทีมละ 1 คน ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบคอยตรวจสอบการทำผิดกติกาที่อาจเกิดขึ้น)
9. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะมีผู้ตัดสิน 2 คน คนหนึ่งจะเป็นผู้ตัดสินที่คอยดูเส้นสนามที่จุดเส้นสตาร์ทและเส้นแบ่งกลางสนาม (centerline) เพื่อไม่ให้ผู้เล่นทำฟอลส์สตาร์ทและฟุตฟอลต์ ส่วนผู้ตัดสินอีกคนจะเป็นผู้คอยสังเกตความถูกต้องของขั้นตอนการเรียงแก้ว การละเมิดกติกาบนโต๊ะแข่งขัน และขั้นตอนการจับเวลา
10. ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ชมและผู้เล่นคนอื่น ๆ จะต้องอยู่รอบนอกของสนามแข่งขัน
มาตรฐานการอัดวิดีโอ
การแข่งขันประเภทเดี่ยว และประเภทคู่
- กล้องต้องอยู่ตรงกลางเหนือผู้เล่นส่องเห็นมุมตรงวางบนขากล้อง (ถ้ามี) ในระยะ 1.82 ม. (6 ฟุต) จากโต๊ะแข่งขันและตำแหน่งที่กรรมการอยู่ต้องไม่บังมุมมองของกล้องที่ถ่ายไปยังผู้แข่งขัน (ดู “ตำแหน่งของผู้ตัดสิน” ที่กำหนดไว้ด้านบน)
- ภายในภาพต้องเห็น พื้นผิวของสแต็คแม็ต, แก้วทั้ง 12 ใบ, มือทั้งสองข้างของผู้เล่น, ใบหน้าและศีรษะของผู้แข่งขัน และจอแสดงสถิติการแข่งขัน
- หัวหน้าผู้ตัดสินจะพูดชื่อ-นามสกุลของผู้เล่นและรุ่นการแข่งขันลงในวิดีโอก่อนเริ่มต้นการอุ่นเครื่องครั้งแรก
- การอบอุ่นร่างกายก็ต้องถูกบันทึกด้วย
การแข่งขันประเภททีม Timed 3-6-3 Relay
- กล้องต้องอยู่ตรงมุมของมุมโต๊ะแข่งขัน
- มุมมองจากกล้องวิดีโอต้องครอบคลุมตั้งแต่ศีรษะผู้เล่นลงมาจนถึงบนหน้าโต๊ะแข่งขัน รวมถึงต้องเห็นใบหน้าและมือทั้งสองข้างของผู้เล่น เห็นพื้นผิวของสแต็คแม็ต, แก้วทั้ง 12 ใบ และจอแสดงสถิติการแข่งขัน นอกจากนั้นยังต้องมองเห็นผู้เล่นลำดับถัดไปที่รออยู่หลังเส้นสตาร์ท สามารถมองเห็นเท้าของผู้เล่นที่ยืนรอ เห็นบริเวณลานแข่งขันด้านหลัง เพื่อดูว่าผู้เล่นข้ามเส้นสตาร์ทถูกต้อง
- หัวหน้าผู้ตัดสินจะพูดชื่อทีม และรุ่นการแข่งขันลงในวิดีโอก่อนเริ่มต้นการแข่งขัน
- จำไว้ว่า ไม่มีการอุ่นเครื่องในการแข่งขันประเภททีม Timed 3-6-3 Relay
- ระยะของเส้นแบ่งกึ่งกลางสนามเท่ากับ 5.79 ม. (19 ฟุต) และเส้นสตาร์ทเท่ากับ 3.35 ม. (11 ฟุต) ต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจน วางสแต็คแม็ตให้ชิดขอบ เพื่อจะสามารถเก็บรายละเอียดในมุมมองภาพได้ทั้งหมด
วิธีการตรวจสอบวิดีโอ
- เจ้าหน้าที่ต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจในการขอตรวจสอบวิดีโอได้
- ตัวแทนของสมาคมกีฬาสแต็ค
- กรรมการจัดการแข่งขัน
- ผู้จัดการแข่งขันในรุ่นนั้น
- ผู้จัดการแข่งขันแบบผลัด และ
- ผู้ตัดสินทั้ง 2 คนที่เป็นผู้ตัดสินรอบชิงชนะเลิศ
- หากมีเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการแข่งขันในรอบใดก็ตาม จะต้องตรวจสอบจากวิดีโอเพื่อตัดสินการแข่งขัน
- หากหลังจากตรวจสอบจากวิดีโอแล้วมีความเห็นไม่ตรงกัน ผู้ตัดสินจะขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสูงกว่ามาตรวจสอบ และเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดูวิดีโอเรียบร้อยแล้วก็จะประชุมกับผู้ตัดสินทั้ง 2 คนแล้วจึงจะตัดสินเป็นคำตอบสุดท้าย
การพิสูจน์หรือตรวจสอบวิดีโอของสมาคมกีฬาสแต็ค
- ต้องมีการส่งวิดีโอและผลการแข่งขันให้แก่สมาคมกีฬาสแต็ค ภายใน 15 วันนับแต่มีการแข่งขัน
- เพื่อความชัดเจน วิดีโอแต่ละม้วนจะถูกติดป้ายบอกชื่อการแข่งขัน วันที่แข่งขัน รุ่น ชื่อกรรมการผู้จัดงาน เบอร์โทรศัพท์และอีเมล์แอดเดรส
- ต้องกรอก “แบบฟอร์มการพิสูจน์การบันทึกสถิติ (Records Verification Form)” และแนบไปกับวิดีโอด้วย
“สแต็คอ๊อฟ (Stack Off)” (มีหรือไม่มีก็ได้) ผู้จัดการแข่งขันอาจจัด “สแต็คอ๊อฟ” เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นการนำผู้เล่นที่ทำเวลาได้สูงสุด 3 อันดับแรกจากบรรดาผู้ชนะทั้งหมดที่ได้จากการแข่งขันทั้ง 5 รอบ มาเข้าร่วมแข่งรอบสุดท้าย จุดประสงค์ในการจัดก็คือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมและผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ได้จับตาดูความสามารถของผู้เล่นที่ทำเวลาได้สูงสุด ผู้เข้าแข่งขันในรอบนี้ต้องทำเวลาให้ดีกว่าที่ทำไว้ในรอบสุดท้าย แต่หากไม่สามารถทำลายสถิติที่ทำไว้ในรอบสุดท้ายได้ ก็จะยึดเวลาเดิมที่เคยทำไว้เป็นหลัก หากผู้จัดการแข่งขันจัดให้มีรอบ “สแต็คอ๊อฟ” อย่างน้อยก็ต้องมีการทำสแต็คไซเคิล ซึ่งการแข่งขันในรอบนี้จะยึดกติกาเดียวกับที่ใช้ในรอบสุดท้าย (Finals) รวมถึงวิธีการบันทึกสถิติด้วย ผู้เล่นที่ทำเวลาได้สูงสุดอันดับสามจะเป็นผู้เริ่มเล่นก่อน ตามมาด้วยผู้เล่นสูงสุดอันดับสอง และปิดท้ายด้วยผู้เล่นที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด การจัดอันดับการแข่งขันในรอบสุดท้ายจะตัดสินจากผลการแข่งขันในรอบสแต็คอ๊อฟ และมอบรางวัลตามผลการตัดสินที่ได้
- การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเดี่ยว ผู้เล่นจะต้องเข้าแข่งขันในรุ่นอายุของตนเอง การจัดรุ่นอายุของผู้เล่นต้องตรงกับอายุจริงของผู้เล่นในวันแข่งขัน (หมายเหตุ : การแข่งขันที่จัดต่อเนื่องห...
- การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทคู่(Double Cycle) การแข่งขันประเภทคู่ คือ การแข่งขันเป็นที่มีผู้เล่นทีมละสองคนทำงานประสานกันในการเรียงแก้วแบบไซเคิลสแต็ค ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความท...
- การแข่งขันประเภทผลัด เฮด-ทู-เฮด(Head-to-Head Relay Competition) เพื่อเป็นการแสดงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ก่อนและหลังการแข่งขัน ทั้งสองทีมไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะจะต้องยอมรับความจ...
- การจัดสนามการแข่งขัน กีฬาสแต็ค ตำแหน่งของผู้ตัดสินและกล้องวิดีโอกีฬาสแต็ค ประเภทและรุ่นอายุการแข่งขันกีฬาสแต็ค