ประเภทเดี่ยว

การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเดี่ยว

  1. ผู้เล่นจะต้องเข้าแข่งขันในรุ่นอายุของตนเอง การจัดรุ่นอายุของผู้เล่นต้องตรงกับอายุจริงของผู้เล่นในวันแข่งขัน (หมายเหตุ : การแข่งขันที่จัดต่อเนื่องหลายวัน การนับรุ่นอายุของผู้เล่นจะวัดจากอายุจริงของผู้เล่นในวันสุดท้ายของการแข่งขัน)
  2. ผู้เล่นสามารถลงแข่งขันได้เพียง 1 ครั้งในการแข่งขันประเภทเดี่ยวในรอบแรก (Prelims)
  3. ผู้เล่นจะต้องเรียงแก้วอยู่บนพื้นผิวของสแต็คแม็ตเท่านั้นทั้งการเรียงอัพสแต็คและดาวน์สแต็ค (ดูคำว่า “พื้นผิวของ สแต็คแม็ต” ในคำจำกัดความ)
  4. “โต๊ะสำหรับซ้อมอุ่นเครื่อง” (ไม่ได้เป็นกติกาตายตัว อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ถ้ามีพื้นที่และทรัพยากรเพียงพอ  ผู้จัดการแข่งขันอาจจัดโต๊ะสำหรับให้ผู้เล่นได้อุ่นเครื่องก่อนลงแข่งจริงไว้ในรอบการแข่งขันด้วย  โดยโต๊ะที่ใช้ในการแข่งจริงแต่ละตัวจะวางประกบคู่กับโต๊ะซ้อมซึ่งตั้งห่างออกไปทางด้านหลังอย่างน้อย 3.7 ม. (12 ฟุต) โต๊ะสำหรับอุ่นเครื่องแต่ละตัวจะใช้สำหรับผู้เล่น 2 คน โดยมีสแต็คแม็ต 2 ผืน และมีเส้นจุดรอ 2 เส้นห่างออกไปทางด้านหลัง 2.13 ม. (7 ฟุต)  ผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิอุ่นเครื่องที่โต๊ะนี้ได้ก่อนที่จะไปยังโต๊ะสำหรับแข่งขันจริง (หมายเหตุ :  พวกเขายังคงสามารถอุ่นเครื่องได้อีก 2 รอบที่โต๊ะแข่งขันก่อนการจับเวลาจริงอีกด้วย) การซ้อมที่โต๊ะอุ่นเครื่องจะกระทำนานเท่าใดก็ได้จนกว่าผู้แข่งขันรอบก่อนหน้าจะเสร็จสิ้นการแข่งขันในรอบของเขาที่โต๊ะแข่ง (กติกาการใช้โต๊ะอุ่นเครื่องนี้เทียบได้กับ “เขตการอุ่นเครื่อง” < on  deck circle > ในกีฬาเบสบอล) เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นลงซ้อมที่โต๊ะอุ่นเครื่อง เป็นที่รู้กันว่าเขาพร้อมที่จะลงแข่ง และจะต้องเข้าแข่งขันในรอบถัดไป
  5. อนุญาตให้ผู้เล่นแต่ละคนซ้อมอุ่นเครื่องได้ 2 รอบ การอุ่นเครื่องต้องกระทำก่อนการแข่งขันจับเวลาจริงในรอบแรก (first try) และไม่สามารถกระทำได้อีกในระหว่างการแข่งรอบต่อ ๆ ไป (subsequent tries) และเมื่อผู้เล่นได้เริ่มต้นอุ่นเครื่อง นั่นเป็นข้อผูกมัดว่าพวกเขาต้องลงเล่นต่อจนกว่าการแข่งขันจะเสร็จสิ้นลง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณไม่สามารถลงไปอุ่นเครื่องก่อน 1 รอบ และเมื่อคิดว่าคุณยังไม่พร้อมก็เดินออกมา แล้วค่อยกลับมาแข่งใหม่คราวหน้า
  6. หลังจากที่ผู้เล่นอุ่นเครื่องเรียบร้อยแล้ว ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เล่นเริ่มต้นการแข่งขันในรอบแรกโดยกล่าวว่า “ตั้งนาฬิกาจับเวลา เมื่อพร้อมแล้วเริ่มได้” ผู้เล่นต้องเริ่มต้นด้วยการวางมือทั้งสองข้าง (ส่วนใดก็ได้ที่ต่ำจากข้อมือลงไปจนถึงปลายนิ้ว) บนแผ่นสัมผัสของสแต็คแม็ต (หมายเหตุ : ห้ามใช้ข้อมือหรือปลายแขนแตะแผ่นสัมผัสเพื่อให้นาฬิกาเริ่มจับเวลา และห้ามใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของมือสัมผัสแก้วก่อนการจับเวลาหรือในขณะเริ่มจับเวลา) ผู้เล่นจะเริ่มเรียงแก้วเมื่อใดก็ได้ภายหลังจากที่สัญญาณไฟสีเขียวบนแผ่นสแต็คแม็ตปรากฏขึ้น  (หมายเหตุ : หากมีการ “ฮิคคัพ” <ดูคำจำกัดความ> เกิดขึ้น  ผู้ตัดสินจะอนุญาตให้ผู้เล่นเริ่มต้นใหม่)
  7. ก) เมื่อผู้เล่นจบขั้นตอนการดาวน์สแต็คแล้ว พวกเขาต้องหยุดนาฬิกาจับเวลา โดยต้องวางมือทั้งสองข้าง (ส่วนใดก็ได้ที่ต่ำจากข้อมือลงไปจนถึงปลายนิ้ว) ลงบนตำแหน่งเดิมเพื่อหยุดนาฬิกาจับเวลา  ข) ผู้เล่นอาจใช้มือข้างใดข้างหนึ่งเตรียมวางบนแผ่นสัมผัสของเครื่องจับเวลาบนสแต็คแม็ตเพื่อหยุดเวลา ในขณะที่ยังคงใช้มืออีกข้างหนึ่งในการดาวน์สแต็คแก้วให้เสร็จก่อน   ค) ผู้เล่นไม่สามารถใช้ข้อมือหรือปลายแขนแตะแผ่นสัมผัสเพื่อให้นาฬิกาจับเวลาหยุดเดิน   ง) ห้ามใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของมือสัมผัสแก้วในขณะหยุดนาฬิกาจับเวลา  จ) ผู้ตัดสินจะบันทึกเวลาที่ผู้เล่นทำไว้หากผู้เล่นไม่ได้ทำสแครช (ดูคำว่า “สแครช”)   ฉ) จากนั้นผู้ตัดสินจะกล่าวว่า “ตั้งนาฬิกาจับเวลา เมื่อพร้อมแล้วเริ่มได้” เพื่อบอกให้ผู้เล่นทราบว่าสามารถเริ่มการแข่งขันรอบต่อไปได้
  8. ก) เวลาที่ผู้เล่นแต่ละคนทำได้จะพิจารณาจากการแข่งขัน 3 รอบ รอบที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดจะเก็บเป็นสถิติที่ดีที่สุดของผู้เล่นแต่ละคน ซึ่งเวลาจะถูกบันทึกเป็น 1/1000 วินาที   ข) สถิติเวลาของผู้เล่นแต่ละคนจะเริ่มนับครั้งแรกในการแข่งขันจับเวลาประเภทเดี่ยวในรอบแรก ( Individual Timed Prelims )
  9. ระหว่างการแข่งขัน  คนดูและผู้เล่นคนอื่น ๆ จะต้องอยู่นอกบริเวณลานแข่งขันด้านหน้า

 

สัญลักษณ์การสแครช (เฉพาะการแข่งขันแบบจับเวลา)

S1  เรียงสแต็คผิดลำดับขั้นตอน

S2  ไม่มีการแก้ไขฟัมเบิลให้ถูกต้อง

S3  กดเวลาหยุดขณะที่ยังเรียงไม่จบ (ฟอลส์สต๊อป)

S4  เรียงสแต็คออกนอกแผ่นรอง (MAT)       

S5  การใช้มือ 2 ข้างจับแก้วสแต็ค 2 กองพร้อมกัน

S6  วางมือผิดตำแหน่งเมื่อสัมผัสนาฬิกา

สำหรับผู้ตัดสิน : แจ้งให้นักกีฬาทราบทันที ที่มีการทำผิดกติกาขึ้น เพื่อนักกีฬาสแต็คจะได้แก้ไขในการแข่งครั้งต่อไป

 

การจัดลำดับนักกีฬาเพื่อมอบรางวัล

ในการแข่งขันแบบจับเวลา จะเกิดการ ties ขึ้นได้ในรอบชิงชนะเลิศของแต่ละประเภท และการจัดลำดับรวมทั้งหมด มีลักษณะดังต่อไปนี้ หากมีเวลาเท่ากันต้องตัดสินจากเวลาดีที่สุดรองลงมาของนักกีฬาทั้งคู่ ถ้ายังเสมอกันอีก ให้ดูจากเวลาดีที่สุดอันดับสามของทั้งคู่ และสุดท้ายตัดสินด้วยเวลาดีที่สุดในรอบคัดเลือก 


  • การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทคู่(Double Cycle) การแข่งขันประเภทคู่ คือ การแข่งขันเป็นที่มีผู้เล่นทีมละสองคนทำงานประสานกันในการเรียงแก้วแบบไซเคิลสแต็ค ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความท...

  • การแข่งขันประเภทผลัด 3-6-3 แบบจับเวลา(Timed 3-6-3 Relay) การแข่งขันประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่ผสมระหว่าง “การแข่งขันประเภททีมผลัด” และ “การแข่งขันแบบจับเวลาประเภทเ...

  • การแข่งขันประเภทผลัด เฮด-ทู-เฮด(Head-to-Head Relay Competition) เพื่อเป็นการแสดงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ก่อนและหลังการแข่งขัน ทั้งสองทีมไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะจะต้องยอมรับความจ...

  • การจัดสนามการแข่งขัน กีฬาสแต็ค ตำแหน่งของผู้ตัดสินและกล้องวิดีโอกีฬาสแต็ค ประเภทและรุ่นอายุการแข่งขันกีฬาสแต็ค
Visitors: 226,412