บันทึกสถิติ
การบันทึกสถิติ
การบันทึกสถิติอย่างเป็นทางการ สถิตินั้นๆ จะต้องมาจากการแข่งขันในสนามที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากสมาคมกีฬาสแต็คโลก ทั้งนี้ สมาคมกีฬาสแต็ค (ประเทศไทย) ทำหน้าที่ในการจัดสนามแข่งขันดังกล่าว กล่าวคือ สมาคมกีฬาสแต็ค (ประเทศไทย) จะเป็นผู้ยื่นเรื่องลงทะเบียนสนามแข่งขันระดับต่างๆ กับสมาคมกีฬาสแต็คโลก เมื่อสมาคมกีฬาสแต็คโลกพิจารณาและรับรองแล้ว จึงจะนับว่าสนามแข่งขันนั้นๆ เป็นสนามแข่งอย่างเป็นทางการ เมื่อนักกีฬาสแต็คที่ทำสถิติใหม่ในการแข่งขัน สมาคมกีฬาสแต็ค (ประเทศไทย) จะส่งเรื่องให้สมาคมกีฬาสแต็คโลกพิจารณา เมื่อผ่านตามเงื่อนไข สถิติใหม่ที่ได้รับการรับรองแล้วจะถูกบันทึกเป็น Thailand Records และ World Records ตามเงื่อนไข
หมายเหตุ : หากต้องการได้รับการบันทึกสถิติ นักกีฬาสแต็คต้องเข้าร่วมในการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสมาคมกีฬาสแต็คเท่านั้น
โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ต้องใช้แก้วสแต็คยี่ห้อสปีดสแต็คที่ได้รับอนุญาตจากสมาคมกีฬาสแต็ค
2. ต้องใช้สแต็คแม็ตและจอแสดงการแข่งขัน (Tournament Display)
3. ต้องมีการบันทึกวิดีโอเพื่อใช้ตรวจสอบและพิสูจน์
4. ต้องมีผู้ตัดสิน 2 คน (คนหนึ่งเป็นหัวหน้าผู้ตัดสิน) เพื่อตัดสินการแข่งขันแต่ละรอบ
หลังจบการแข่งขันในแต่ละรอบผู้ตัดสินทั้ง 2 คนจะประชุมกัน และหัวหน้าผู้ตัดสินจะแสดงผลการแข่งขันด้วยใช้บัตรสีเป็นตัวแสดงผล สีเขียว หมายถึง การแข่งขันที่ชัดเจน, สีเหลือง หมายถึง ไม่ชัดเจน (ต้องนำวิดีโอมาตรวจสอบ), สีแดง หมายถึง การแข่งขันเป็นโมฆะ
5. ตำแหน่งของผู้ตัดสินสำหรับการแข่งขันประเภทเดี่ยวและประเภทคู่รอบสุดท้ายเป็นดังนี้
ผู้ตัดสินที่หนึ่ง อยู่ข้างโต๊ะ จุดที่สามารถเห็นตำแหน่งการวางมือบนสแต็คแม็ตของผู้เล่นตอนเริ่มต้นและจบการแข่งขัน
ผู้ตัดสินที่สอง อยู่ตรงข้ามกับผู้เล่น จุดจากมุมบนของสแต็คแม็ต
6. ตำแหน่งของผู้ตัดสินสำหรับการแข่งขันผลัดรอบสุดท้ายแบบ 3-6-3 ต้องเป็นไปตามนี้
ผู้ตัดสินที่หนึ่ง อยู่ตำแหน่งเดียวกับการแข่งขันประเภทบน
ผู้ตัดสินที่สอง อยู่ตรงจุดเริ่มต้น
*ผู้ตัดสินในรอบสุดท้ายต้องไม่เป็นสมาชิกในครอบครัว หรืออาจารย์ของผู้แข่งขัน
มาตรฐานการอัดวิดีโอ
การแข่งขันประเภทเดี่ยว และประเภทคู่
1. กล้องต้องอยู่ตรงกลางเหนือผู้เล่นส่องเห็นมุมตรงวางบนขากล้อง (ถ้ามี) ในระยะ 1.82 ม. (6 ฟุต) จากโต๊ะแข่งขันและตำแหน่งที่กรรมการอยู่ต้องไม่บังมุมมองของกล้องที่ถ่ายไปยังผู้แข่งขัน (ดู “ตำแหน่งของผู้ตัดสิน” ที่กำหนดไว้ด้านบน)
2. ภายในภาพต้องเห็น พื้นผิวของสแต็คแม็ต, แก้วทั้ง 12 ใบ, มือทั้งสองข้างของผู้เล่น, ใบหน้าและศีรษะของผู้แข่งขัน และจอแสดงสถิติการแข่งขัน
3. หัวหน้าผู้ตัดสินจะพูดชื่อ-นามสกุลของผู้เล่นและรุ่นการแข่งขันลงในวิดีโอก่อนเริ่มต้นการอุ่นเครื่องครั้งแรก
การอบอุ่นร่างกายก็ต้องถูกบันทึกด้วย การแข่งขันประเภททีม Timed 3-6-3 Relay
1. กล้องต้องอยู่ตรงมุมของมุมโต๊ะแข่งขัน
2. มุมมองจากกล้องวิดีโอต้องครอบคลุมตั้งแต่ศีรษะผู้เล่นลงมาจนถึงบนหน้าโต๊ะแข่งขัน รวมถึงต้องเห็นใบหน้าและมือทั้งสองข้างของผู้เล่น เห็นพื้นผิวของสแต็คแม็ต, แก้วทั้ง 12 ใบ และจอแสดงสถิติการแข่งขัน นอกจากนั้นยังต้องมองเห็นผู้เล่นลำดับถัดไปที่รออยู่หลังเส้นสตาร์ท สามารถมองเห็นเท้าของผู้เล่นที่ยืนรอ เห็นบริเวณลานแข่งขันด้านหลัง เพื่อดูว่าผู้เล่นข้ามเส้นสตาร์ทถูกต้อง
3. หัวหน้าผู้ตัดสินจะพูดชื่อทีม และรุ่นการแข่งขันลงในวิดีโอก่อนเริ่มต้นการแข่งขัน
4. จำไว้ว่า ไม่มีการอุ่นเครื่องในการแข่งขันประเภททีม Timed 3-6-3 Relay
5. ระยะของเส้นแบ่งกึ่งกลางสนามเท่ากับ 5.79 ม. (19 ฟุต) และเส้นสตาร์ทเท่ากับ 3.35 ม. (11 ฟุต) ต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจน วางสแต็คแม็ตให้ชิดขอบ เพื่อจะสามารถเก็บรายละเอียดในมุมมองภาพได้ทั้งหมด
วิธีการตรวจสอบวิดีโอ
1. เจ้าหน้าที่ต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจในการขอตรวจสอบวิดีโอได้
- ตัวแทนของสมาคมกีฬาสแต็ค
- กรรมการจัดการแข่งขัน
- ผู้จัดการแข่งขันในรุ่นนั้น
- ผู้จัดการแข่งขันแบบผลัด และ
- ผู้ตัดสินทั้ง 2 คนที่เป็นผู้ตัดสินรอบชิงชนะเลิศ หากมีเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลการแข่งขันในรอบใดก็ตาม จะต้องตรวจสอบจากวิดีโอเพื่อตัดสินการแข่งขัน หากหลังจากตรวจสอบจากวิดีโอแล้วมีความเห็นไม่ตรงกัน ผู้ตัดสินจะขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสูงกว่ามาตรวจสอบ และเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดูวิดีโอเรียบร้อยแล้วก็จะประชุมกับผู้ตัดสินทั้ง 2 คนแล้วจึงจะตัดสินเป็นคำตอบสุดท้าย
การพิสูจน์หรือตรวจสอบวิดีโอของสมาคมกีฬาสแต็ค
1. ต้องมีการส่งวิดีโอและผลการแข่งขันให้แก่สมาคมกีฬาสแต็ค ภายใน 15 วันนับแต่มีการแข่งขัน
2. เพื่อความชัดเจน วิดีโอแต่ละม้วนจะถูกติดป้ายบอกชื่อการแข่งขัน วันที่แข่งขัน รุ่น ชื่อกรรมการผู้จัดงาน เบอร์โทรศัพท์และอีเมล์แอดเดรส
3. ต้องกรอก “แบบฟอร์มการพิสูจน์การบันทึกสถิติ (Records Verification Form)” และแนบไปกับวิดีโอด้วย